วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษาอย่างไรและส่งผลกระทบต่อตัวท่านอย่างไร

ในอดีตมนุษย์ยังเร่รอน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง มีการขยายอาณาเขตออกจนกลายเป็นสังคมเมือง จนก่อให้เกิดความเป็นอุตสาหกรรมขึ้นมา หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบคมนาคมการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ จึงนำไปสู่ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อการพัฒนาในการคิดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์เพื่อสนองความต้องการสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน จึงถือได้ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จะเห็นว่าการพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต
ประมาณ 500000 ปีที่แล้ว  สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารกันโดยอาศัยภาษาท่าทางและได้สร้างตัวหนังสือจารึกไว้ตามผนังถ้ำ  ทำให้มนุษย์ในยุคนี้มีการสื่อสารด้วยตัวหนังสือแทนภาษาท่าทาง
ประมาณ 5000 ปีที่แล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้ ซึ่งนำไปสู่การติดต่อสื่อสารด้วยภาษาข้อความ เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการพิมพ์ 
ประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว  การสื่อสารด้วยข้อความเพิ่มมากขึ้น โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้
ประมาณ 50 ถึง 100 ปีที่แล้ว  มีการส่งภาพโทรทัศน์และภาพคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น
เข้าสู่ยุคปัจจุบัน มีสถานีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆที่ใช้ในการกระจายข่าวสารโดยผการแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อรายงานเหตุการณ์สด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนว่า บทบาทของเทคโนโลยีมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องทุกกระบวนขั้นตอน  นับได้ว่าเป็น "สังคมไร้พรมแดน"

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
       การเรียนรู้ในยุตเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมมีบทบาทลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ใหม่ จนนำไปสู่การพัฒนาการทางการศึกษาของไทย จะอาศัยความก้าวหน้าทางด้านสื่อสาร ในยุคเก่ามีการเรียนการสอนผ่านไปรษณีย์ ซึ่งมหาลัยเปิดที่มีการเรียนการสอนทางไกลจะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ต่อมาบทบาทการสื่อสารโดยใช้วิทยุเป็นสื่อในการสอน สื่อการสอนทางด้านเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โทรทัศน์ก็เข้ามามีบทบาทร่วมกับเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ในปัจจุบันนี้การพัฒนาด้านสื่อการสอนนิยมใช้หลากหลายรูปแบบที่ซึ่งเรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"

                                                                   บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ World Wide Web เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล ซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทนคมนาคม
  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ทุกวงการต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับตัวฉัน
        ในฐานะที่ดิฉันเป็นนิสิตปริญญาโท ดิฉันคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการเรียนการสอน เพราะการศึกษาในปัจจุบันนั้นเป็นยุคแห่งการสืบเสาะ การเรียนการสอนจึงเน้นผู้เรียนเป็นหลัก ต้องสืบค้นหาข้อมูลโดยอาศัยระบบออนไลน์เป็นตัวช่วยสำคัญ ในการสร้างความารู้ให้กับตนเอง ครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาอยู่รอบข้าง การมีเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการติดตามข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วโลก การติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันอย่างรวดเร็วทำให้สังคมไทยเปิดโลกกว้างเป็นสังคม "ไร้พรมแดน" ต่อไปในอนาคตดิฉันจบการศึกษาออกไปก็ต้องไปประกอบอาชีพครูผู้สอน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการศืบค้นหาข้อมูลที่มีความทันสมัยเพื่อนำมาสอนนักเรียน ให้พวกเขาก้าวทันต่อเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต้องคำนึงและเคารพกฎของความถูกต้องในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
internet
                                                       โลกแห่งการไร้พรมแดน



ที่มาhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น