วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ธงชาติเคลื่อไหวประเทศไทย
     
             เปิดรั้วเมืองไทย
   ก้าวเข้าสู่ความเป็นอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations :ASEAN)
"We are asean"

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

  1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม 
  2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
  3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการวิทยาศาสตร์และการบริหาร 
  4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
  5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า คมนาคม สื่อสาร การดำรงชีวิต
  6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  7. ส่งเสริมการร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ   

อาเซียนกับการจัดการศึกษาไทย  


บุคลากรการศึกษาไทยร้อยละ 70-80 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนน้อยมาก รวมไปถึงเด็กนักเรียนไทยเช่นกัน พบว่าเด็ก 8 คน จาก10คน ไม่กล้าไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียน แต่เมื่อถามเด็กนักเรียนประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน พวกเขามีความต้องการเข้ามาทำงานที่เมืองไทย สาเหตุที่ทำให้นักเรียนไทยเป็นแบบนี้ก็เพราะว่า เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษเป็นอันดับ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ จากลำดับบอกได้ว่าเยาวชนไทยมีทักษะภาษาอังกฤษไม่สามารถสู้กับประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนได้  เลขาธิการสภาศึกษา ย้ำว่าประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และเป้าหมายในการเรียนภาษาอังกฤษอย่างเป็นระบบ  โดยผู้เรียนไม่ทราบว่าเรียนไปเพื่ออะไร 
                      แนวทางการแก้ไขปัญหา
ต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วนในวงการศึกษาไทย เพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนเรื่องการใช้ภาษาให้กับนักเรียนทุกคนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สิ่งสำคัญการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ไทยให้มีความรู้ใน  3 ด้าน คือ
1. ทักษะทางภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านของอาเซียน ซึ่งครูต้องผลักดันให้เด็กกล้าพูด และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูต้องเป็นผู้นำถ่ายทอดให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน
3. ทักษะวิชาชีพ ต้องเร่งพัฒนาทักษะอาชีพให้แรงงานไทยมีฝีมือ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

อาเซียนกับการศึกษาระดับบัณฑิต



สำนักงานการอุดมศึกษา(สกอ.) มีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้บัณฑิตไทยมีความรู้ความสามารถในระดับสากล โดยวางยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพในมาตราฐานสากล
พัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษา ในระดับใช้ในการทำงานได้ รวมทั้งนำไปใช้ในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย
2.การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน
พัฒนาอาจารย์และบุุคคลทางการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล
3. การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน
ส่งเสริมความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมการศึกษาไทยในการสร้างประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะด้านสังคม วัฒนธรรมอาเซียน ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

ประเด็นที่บัณฑิตไทยกังวลใจ

          "เก้าอี้งานของบัณฑิตไทยจะลดลงหรือไหม                             

                                                             เมื่อเปิดเสรีอาเซียน"  

อาเซียนในทัศนะคติของฉัน

        ในฐานะฉันก็เป็นคนหนึ่งที่จบการศึกษาปี 2554 ถึงแม้ยังไม่เข้าสู้ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว แต่หน่วยงานทุกหน่วยงานกำลังเตรียมตัวเข้าสู้ประชาคมอาเซียน การเปิดรับสมัครงานก็มีความเข้มข้นในการคัดเลือกเข้าทำงานประเด็นที่น่าทุกข์ใจที่สุดคือ เรื่องทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่จะประกันความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ดิฉันคิดว่าจะต้องมีการศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะให้กับตนเอง อันจะส่งผลต่อการทำงานในทางที่ดีขึ้น และยังเป็นทางเลือกให้กับนายจ้างในการคัดเลือกเข้าทำงาน ที่สำคัญเราจะต้องมีความกระตือรือร้นทางวิชาการหรือในวิชาชีพของตนเองให้มากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่ 7อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีในประชาคมอาเซียน หากตัวเรามีคุณภาพ เราก็สามารถเดินทางไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้โดยไร้ขีดจำกัด 


3 คำ สำหรับการศึกษา

                ไม่ (แก่ สาย ขาย)



                                ถ้าอยากได้ต้องทำเองจร้า

(เรเร่)                        


1 ความคิดเห็น: