วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การสื่อสาร(การพูดและเขียน)มีบทบาทสำคัญต่องานวิจัยอย่างไร?


การพูด


 คือ การที่มนุษย์เปล่งเสียงเป็นถ้อยคำภาษาออกมา เพื่อแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกหรือความต้องการของผู้พูดไปให้ผู้ฟังได้ยินและเข้าใจ โดยอาศัยภาษา น้ำเสียง ท่าทาง เป็นสื่อและมีการตอบสนองจากผู้ฟัง



ความมุ่งหมายของการพูด


          คือ การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟัง และผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวและเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของผู้พูด ตลอดจนนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะการพูดที่ดี
          มีถ้อยคำดี คือ การพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ พูดจาสุภาพอ่อนหวาน การพูดนั้นจะต้องไตร่ตรองก่อนพูดทุกครั้ง พูดแต่ความจริง

          มีประโยชน์ คือ  จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมดังต่อไปนี้  เหมาะสมกับกาล  เหมาะ  สมกับกาลเทศะ  เหมาะสมกับบุคคล

          มีความมุ่งหมาย คือ จะช่วยให้การพูดได้เนื้อหาสาระได้ครบและครอบคลุมทั้งหมด  ที่สำคัญไม่เสียเวลาในการนำเสนอ

          มีศิลปะ คือ  การใช้สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง รวมทั้งจิตวิทยาในการพูดด้วย                    


การเขียน
คือ การแสดงความรู้ ความคิด และความต้องการ ของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ซึ่งในการใช้ภาษาเขียนนั้นจะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานจากการฟัง การพูด การอ่าน ในการสะสมความรู้ ข้อมูล ถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะการเขียนที่ดี

การนำหลักการ/ทฤษฎี มาใช้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาวิจัย จะต้องมีการวิเคราะห์เจาะลึก โดยมีหลักการ/ทฤษฎีมารองรับ
การแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม ผู้เขียนจะต้องเสนอวิธีการที่น่าเชื่อถือ ต้องชี้แจงแสดงเหตุผลอย่างเหมาะสม
ความสมบูรณ์และความถูกต้อง ส่วนของเนื้อหาสาระ จะต้องมีข้อเท็จจริงพร้อมกำหนดการอ้างอิงที่มาเพื่อความน่าเชื่อถือ
จะต้องมีการลำดับเหตุการณ์ ต้องดำเนินเนื้อเรื่องให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย
มีความเหมาะสมในการจัดเค้าโครงเรื่อง ต้องเป็นระเบียบ ไม่ซ้ำซ้อนทำให้สับสน


การพูดการเขียนต่องานวิจัย

ในการพูดนำเสนอผลงานวิจัยนั้น ผู้นำเสนอจะต้องมีความพร้อมทุกด้าน เริ่มจากการเขียนชิ้นงาน การเตรียมเนื้อหาที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง มีการนำหลักการ/ทฤษฎีมาประกอบในการคิดวิเคราะห์ พร้อมการอ้างอิงที่มาของข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยต้องเรียงลำดับเนื้อเรื่องที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้เป็นอย่างดี ในส่วนถัดมาคือ ผู้วิจัยจะต้องเตรียมบุคลิกภาพให้มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ฟังเห็นแล้วเกิดความเชื่อถือ ในตัวของผู้วิจัย ซึ่งเป็นจุดเด่นของตัวผู้วิจัยที่ผู้ฟังเขามองเห็นและสัมผัสได้ทุกอิริยาบถที่เราได้นำเสนอออกไป ในการนำเสนอนั้น ผู้วิจัยต้องใช้ภาษาและถ้อยคำที่สุภาพ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง มีการทอดน้ำเสียงอย่างนุ่มนวล สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดสำคัญมากที่ผู้วิจัยต้องตระหนักและใส่ใจให้ตนเองมีความพร้อม ทุกสิ่งถูกเตรียมพร้อม ก็จะทำให้การรายงานวิจัยดำเนินลุล่วงไปด้วยดีทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังและเชื่อถือในผลงานวิจัย ว่าประสิทธิภาพพร้อมที่จะนำงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในสังคมไทย

งานวิจัย บวก ความใส่ใจ เท่ากับ มีประสิทธิภาพ


วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556


นวัตกรรมทางการศึกษา

          นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
            นวัตกรรมการศึกษาหมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
            
          แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
 ความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการศึกษาของเด็กไทยมุ่งให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล มุ่งจัดการสอนตามความถนัด ความสนใจและความสามรถของแต่ละบุคคลเป็นเกณฑ์
ความพร้อม เด็กจะเริ่มเรียนได้ต้องมีความพร้อม ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนี้วิจัยทางจิตวิทยากล่าวว่าความพร้อมในการเรียนรู้สามารถสร้างขึ้นได้ โดยการจัดบทเรียน ให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล                                                                                
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ได้จัดเป็นหน่วยการสอนให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้เกิดสิ่งต่างๆแปลกใหม่เพิ่มขึ้น จึงนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้คน

         สื่อการเรียนการสอน


ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน การใช้สื่อที่ดีและมีความหลากหลายเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เสริมสร้างให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด รวมถึงทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีทางการเรียน

                   การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง       
                                (Augmented Reality:AR)    
                      

โดยศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) โรงเรียนนาโพธิ์พิยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32                               แนวคิดหลักของเทคโนโลยี คือ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันแล้วผ่านซอฟแวร์ที่เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคม คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านคอมพิวเตอร์ หน้าจอ โทรศัพท์มือถือ บนเครื่องฉายภาพหรืออุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ทันที ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบ โดยกระบวนการเทคโนโลยีเสมือนจริง คือ การวิเคราะห์ภาพ การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ และกระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้าน ICT ให้แก่ครูผู้สอน ควรนำเอาระบบความจริงเสมือนมาผนวกกับเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งที่เสมือนจริงให้ผู้ใช้ และเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน

         วัตถุประสงค์

            1. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและสร้างเสริมประสบการณ์ด้าน ICT ให้บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในฝัน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อเทคโนโลยี
2. เพื่อกระตุ้นเกิดความสนใจและตื่นตัวในการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง และให้ขยายขอบข่ายใช้งานในทางการศึกษาเพิ่มขึ้น          
3. ครู นักเรียนใช้สื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง ให้เป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาและเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ

ขั้นการปฏิบติงาน
1. แนะนำเทคโนโลยีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง Augmented Reality:AR
2. เทคโนโลยี Augmented Reality สามมิติ แบบ Real time
3. การใช้งาน Augmented Reality:AR เพื่อการจัดการเรียนรู้
4. การสร้าง Augmented Reality:AR เพื่อการจัดการเรียนรู้
5. การกำหนดการเคลื่อนไหวในงาน Augmented Reality:AR
6. การกำหนดเสียงในงาน Augmented Reality:AR
7. การรวมภาพสามมิติ
8. การนำเสนอผลงาน         
                                        
ประโยชน์ที่ได้รับ
 1.  อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ที่เข้าฝึกอบรมมีผลงานสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง Augmented RealityAR เป็นสื่อการสอนของตนเอง
2. มีสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง Augmented RealityAR ที่ผู้สอนเข้าใจแนวทางและสามารถสร้างเพิ่มเติมได้
3.  มีสื่อการสอนที่ผู้เรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้



       


การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง คนเราจะหยุดพัฒนาไม่ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ของคนเราจึงมิได้หยุดอยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่จะดำเนินไปตลอดชีวิตของผู้เรียน ทำให้เกิดความเชื่อว่า การศึกษาคือชีวิต

ที่มา:ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32



วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษาอย่างไรและส่งผลกระทบต่อตัวท่านอย่างไร

ในอดีตมนุษย์ยังเร่รอน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง มีการขยายอาณาเขตออกจนกลายเป็นสังคมเมือง จนก่อให้เกิดความเป็นอุตสาหกรรมขึ้นมา หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบคมนาคมการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ จึงนำไปสู่ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อการพัฒนาในการคิดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์เพื่อสนองความต้องการสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน จึงถือได้ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จะเห็นว่าการพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต
ประมาณ 500000 ปีที่แล้ว  สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารกันโดยอาศัยภาษาท่าทางและได้สร้างตัวหนังสือจารึกไว้ตามผนังถ้ำ  ทำให้มนุษย์ในยุคนี้มีการสื่อสารด้วยตัวหนังสือแทนภาษาท่าทาง
ประมาณ 5000 ปีที่แล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้ ซึ่งนำไปสู่การติดต่อสื่อสารด้วยภาษาข้อความ เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการพิมพ์ 
ประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว  การสื่อสารด้วยข้อความเพิ่มมากขึ้น โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้
ประมาณ 50 ถึง 100 ปีที่แล้ว  มีการส่งภาพโทรทัศน์และภาพคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น
เข้าสู่ยุคปัจจุบัน มีสถานีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆที่ใช้ในการกระจายข่าวสารโดยผการแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อรายงานเหตุการณ์สด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนว่า บทบาทของเทคโนโลยีมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องทุกกระบวนขั้นตอน  นับได้ว่าเป็น "สังคมไร้พรมแดน"

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
       การเรียนรู้ในยุตเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมมีบทบาทลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ใหม่ จนนำไปสู่การพัฒนาการทางการศึกษาของไทย จะอาศัยความก้าวหน้าทางด้านสื่อสาร ในยุคเก่ามีการเรียนการสอนผ่านไปรษณีย์ ซึ่งมหาลัยเปิดที่มีการเรียนการสอนทางไกลจะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ต่อมาบทบาทการสื่อสารโดยใช้วิทยุเป็นสื่อในการสอน สื่อการสอนทางด้านเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โทรทัศน์ก็เข้ามามีบทบาทร่วมกับเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ในปัจจุบันนี้การพัฒนาด้านสื่อการสอนนิยมใช้หลากหลายรูปแบบที่ซึ่งเรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"

                                                                   บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ World Wide Web เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล ซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทนคมนาคม
  • เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ทุกวงการต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับตัวฉัน
        ในฐานะที่ดิฉันเป็นนิสิตปริญญาโท ดิฉันคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการเรียนการสอน เพราะการศึกษาในปัจจุบันนั้นเป็นยุคแห่งการสืบเสาะ การเรียนการสอนจึงเน้นผู้เรียนเป็นหลัก ต้องสืบค้นหาข้อมูลโดยอาศัยระบบออนไลน์เป็นตัวช่วยสำคัญ ในการสร้างความารู้ให้กับตนเอง ครูผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาอยู่รอบข้าง การมีเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับการติดตามข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วโลก การติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันอย่างรวดเร็วทำให้สังคมไทยเปิดโลกกว้างเป็นสังคม "ไร้พรมแดน" ต่อไปในอนาคตดิฉันจบการศึกษาออกไปก็ต้องไปประกอบอาชีพครูผู้สอน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการศืบค้นหาข้อมูลที่มีความทันสมัยเพื่อนำมาสอนนักเรียน ให้พวกเขาก้าวทันต่อเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต้องคำนึงและเคารพกฎของความถูกต้องในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
internet
                                                       โลกแห่งการไร้พรมแดน



ที่มาhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html









วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ธงชาติเคลื่อไหวประเทศไทย
     
             เปิดรั้วเมืองไทย
   ก้าวเข้าสู่ความเป็นอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations :ASEAN)
"We are asean"

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

  1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม 
  2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
  3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการวิทยาศาสตร์และการบริหาร 
  4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
  5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า คมนาคม สื่อสาร การดำรงชีวิต
  6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  7. ส่งเสริมการร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ   

อาเซียนกับการจัดการศึกษาไทย  


บุคลากรการศึกษาไทยร้อยละ 70-80 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนน้อยมาก รวมไปถึงเด็กนักเรียนไทยเช่นกัน พบว่าเด็ก 8 คน จาก10คน ไม่กล้าไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียน แต่เมื่อถามเด็กนักเรียนประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน พวกเขามีความต้องการเข้ามาทำงานที่เมืองไทย สาเหตุที่ทำให้นักเรียนไทยเป็นแบบนี้ก็เพราะว่า เยาวชนไทยอ่อนภาษาอังกฤษเป็นอันดับ 42 จากทั้งหมด 44 ประเทศ จากลำดับบอกได้ว่าเยาวชนไทยมีทักษะภาษาอังกฤษไม่สามารถสู้กับประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนได้  เลขาธิการสภาศึกษา ย้ำว่าประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และเป้าหมายในการเรียนภาษาอังกฤษอย่างเป็นระบบ  โดยผู้เรียนไม่ทราบว่าเรียนไปเพื่ออะไร 
                      แนวทางการแก้ไขปัญหา
ต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วนในวงการศึกษาไทย เพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล ร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนเรื่องการใช้ภาษาให้กับนักเรียนทุกคนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สิ่งสำคัญการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ไทยให้มีความรู้ใน  3 ด้าน คือ
1. ทักษะทางภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านของอาเซียน ซึ่งครูต้องผลักดันให้เด็กกล้าพูด และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูต้องเป็นผู้นำถ่ายทอดให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน
3. ทักษะวิชาชีพ ต้องเร่งพัฒนาทักษะอาชีพให้แรงงานไทยมีฝีมือ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

อาเซียนกับการศึกษาระดับบัณฑิต



สำนักงานการอุดมศึกษา(สกอ.) มีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้บัณฑิตไทยมีความรู้ความสามารถในระดับสากล โดยวางยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประการ คือ
1. การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพในมาตราฐานสากล
พัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษา ในระดับใช้ในการทำงานได้ รวมทั้งนำไปใช้ในการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย
2.การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน
พัฒนาอาจารย์และบุุคคลทางการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล
3. การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน
ส่งเสริมความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมการศึกษาไทยในการสร้างประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะด้านสังคม วัฒนธรรมอาเซียน ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

ประเด็นที่บัณฑิตไทยกังวลใจ

          "เก้าอี้งานของบัณฑิตไทยจะลดลงหรือไหม                             

                                                             เมื่อเปิดเสรีอาเซียน"  

อาเซียนในทัศนะคติของฉัน

        ในฐานะฉันก็เป็นคนหนึ่งที่จบการศึกษาปี 2554 ถึงแม้ยังไม่เข้าสู้ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว แต่หน่วยงานทุกหน่วยงานกำลังเตรียมตัวเข้าสู้ประชาคมอาเซียน การเปิดรับสมัครงานก็มีความเข้มข้นในการคัดเลือกเข้าทำงานประเด็นที่น่าทุกข์ใจที่สุดคือ เรื่องทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่จะประกันความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ดิฉันคิดว่าจะต้องมีการศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะให้กับตนเอง อันจะส่งผลต่อการทำงานในทางที่ดีขึ้น และยังเป็นทางเลือกให้กับนายจ้างในการคัดเลือกเข้าทำงาน ที่สำคัญเราจะต้องมีความกระตือรือร้นทางวิชาการหรือในวิชาชีพของตนเองให้มากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่ 7อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีในประชาคมอาเซียน หากตัวเรามีคุณภาพ เราก็สามารถเดินทางไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้โดยไร้ขีดจำกัด 


3 คำ สำหรับการศึกษา

                ไม่ (แก่ สาย ขาย)



                                ถ้าอยากได้ต้องทำเองจร้า

(เรเร่)