วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การสื่อสาร(การพูดและเขียน)มีบทบาทสำคัญต่องานวิจัยอย่างไร?


การพูด


 คือ การที่มนุษย์เปล่งเสียงเป็นถ้อยคำภาษาออกมา เพื่อแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกหรือความต้องการของผู้พูดไปให้ผู้ฟังได้ยินและเข้าใจ โดยอาศัยภาษา น้ำเสียง ท่าทาง เป็นสื่อและมีการตอบสนองจากผู้ฟัง



ความมุ่งหมายของการพูด


          คือ การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟัง และผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวและเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของผู้พูด ตลอดจนนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะการพูดที่ดี
          มีถ้อยคำดี คือ การพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ พูดจาสุภาพอ่อนหวาน การพูดนั้นจะต้องไตร่ตรองก่อนพูดทุกครั้ง พูดแต่ความจริง

          มีประโยชน์ คือ  จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมดังต่อไปนี้  เหมาะสมกับกาล  เหมาะ  สมกับกาลเทศะ  เหมาะสมกับบุคคล

          มีความมุ่งหมาย คือ จะช่วยให้การพูดได้เนื้อหาสาระได้ครบและครอบคลุมทั้งหมด  ที่สำคัญไม่เสียเวลาในการนำเสนอ

          มีศิลปะ คือ  การใช้สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง รวมทั้งจิตวิทยาในการพูดด้วย                    


การเขียน
คือ การแสดงความรู้ ความคิด และความต้องการ ของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ซึ่งในการใช้ภาษาเขียนนั้นจะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานจากการฟัง การพูด การอ่าน ในการสะสมความรู้ ข้อมูล ถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะการเขียนที่ดี

การนำหลักการ/ทฤษฎี มาใช้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาวิจัย จะต้องมีการวิเคราะห์เจาะลึก โดยมีหลักการ/ทฤษฎีมารองรับ
การแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม ผู้เขียนจะต้องเสนอวิธีการที่น่าเชื่อถือ ต้องชี้แจงแสดงเหตุผลอย่างเหมาะสม
ความสมบูรณ์และความถูกต้อง ส่วนของเนื้อหาสาระ จะต้องมีข้อเท็จจริงพร้อมกำหนดการอ้างอิงที่มาเพื่อความน่าเชื่อถือ
จะต้องมีการลำดับเหตุการณ์ ต้องดำเนินเนื้อเรื่องให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย
มีความเหมาะสมในการจัดเค้าโครงเรื่อง ต้องเป็นระเบียบ ไม่ซ้ำซ้อนทำให้สับสน


การพูดการเขียนต่องานวิจัย

ในการพูดนำเสนอผลงานวิจัยนั้น ผู้นำเสนอจะต้องมีความพร้อมทุกด้าน เริ่มจากการเขียนชิ้นงาน การเตรียมเนื้อหาที่เป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง มีการนำหลักการ/ทฤษฎีมาประกอบในการคิดวิเคราะห์ พร้อมการอ้างอิงที่มาของข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยต้องเรียงลำดับเนื้อเรื่องที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้เป็นอย่างดี ในส่วนถัดมาคือ ผู้วิจัยจะต้องเตรียมบุคลิกภาพให้มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ฟังเห็นแล้วเกิดความเชื่อถือ ในตัวของผู้วิจัย ซึ่งเป็นจุดเด่นของตัวผู้วิจัยที่ผู้ฟังเขามองเห็นและสัมผัสได้ทุกอิริยาบถที่เราได้นำเสนอออกไป ในการนำเสนอนั้น ผู้วิจัยต้องใช้ภาษาและถ้อยคำที่สุภาพ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง มีการทอดน้ำเสียงอย่างนุ่มนวล สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดสำคัญมากที่ผู้วิจัยต้องตระหนักและใส่ใจให้ตนเองมีความพร้อม ทุกสิ่งถูกเตรียมพร้อม ก็จะทำให้การรายงานวิจัยดำเนินลุล่วงไปด้วยดีทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นการสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังและเชื่อถือในผลงานวิจัย ว่าประสิทธิภาพพร้อมที่จะนำงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในสังคมไทย

งานวิจัย บวก ความใส่ใจ เท่ากับ มีประสิทธิภาพ


วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556


นวัตกรรมทางการศึกษา

          นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
            นวัตกรรมการศึกษาหมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
            
          แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
 ความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการศึกษาของเด็กไทยมุ่งให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล มุ่งจัดการสอนตามความถนัด ความสนใจและความสามรถของแต่ละบุคคลเป็นเกณฑ์
ความพร้อม เด็กจะเริ่มเรียนได้ต้องมีความพร้อม ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันนี้วิจัยทางจิตวิทยากล่าวว่าความพร้อมในการเรียนรู้สามารถสร้างขึ้นได้ โดยการจัดบทเรียน ให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล                                                                                
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ได้จัดเป็นหน่วยการสอนให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้เกิดสิ่งต่างๆแปลกใหม่เพิ่มขึ้น จึงนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้คน

         สื่อการเรียนการสอน


ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน การใช้สื่อที่ดีและมีความหลากหลายเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เสริมสร้างให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด รวมถึงทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีทางการเรียน

                   การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง       
                                (Augmented Reality:AR)    
                      

โดยศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) โรงเรียนนาโพธิ์พิยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32                               แนวคิดหลักของเทคโนโลยี คือ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันแล้วผ่านซอฟแวร์ที่เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคม คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านคอมพิวเตอร์ หน้าจอ โทรศัพท์มือถือ บนเครื่องฉายภาพหรืออุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ทันที ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบ โดยกระบวนการเทคโนโลยีเสมือนจริง คือ การวิเคราะห์ภาพ การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ และกระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้าน ICT ให้แก่ครูผู้สอน ควรนำเอาระบบความจริงเสมือนมาผนวกกับเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งที่เสมือนจริงให้ผู้ใช้ และเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน

         วัตถุประสงค์

            1. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและสร้างเสริมประสบการณ์ด้าน ICT ให้บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในฝัน มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อเทคโนโลยี
2. เพื่อกระตุ้นเกิดความสนใจและตื่นตัวในการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง และให้ขยายขอบข่ายใช้งานในทางการศึกษาเพิ่มขึ้น          
3. ครู นักเรียนใช้สื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง ให้เป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาและเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ

ขั้นการปฏิบติงาน
1. แนะนำเทคโนโลยีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง Augmented Reality:AR
2. เทคโนโลยี Augmented Reality สามมิติ แบบ Real time
3. การใช้งาน Augmented Reality:AR เพื่อการจัดการเรียนรู้
4. การสร้าง Augmented Reality:AR เพื่อการจัดการเรียนรู้
5. การกำหนดการเคลื่อนไหวในงาน Augmented Reality:AR
6. การกำหนดเสียงในงาน Augmented Reality:AR
7. การรวมภาพสามมิติ
8. การนำเสนอผลงาน         
                                        
ประโยชน์ที่ได้รับ
 1.  อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ที่เข้าฝึกอบรมมีผลงานสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง Augmented RealityAR เป็นสื่อการสอนของตนเอง
2. มีสื่อการเรียนการสอนสามมิติเสมือนจริง Augmented RealityAR ที่ผู้สอนเข้าใจแนวทางและสามารถสร้างเพิ่มเติมได้
3.  มีสื่อการสอนที่ผู้เรียนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้



       


การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง คนเราจะหยุดพัฒนาไม่ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ของคนเราจึงมิได้หยุดอยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่จะดำเนินไปตลอดชีวิตของผู้เรียน ทำให้เกิดความเชื่อว่า การศึกษาคือชีวิต

ที่มา:ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32